หัวร้อน

หัวร้อน ในทางจิตวิทยากับอารมณ์

เรื่องAdminAlljitblog

ความรู้สึกที่ทุกคนต้องเจอบางทีมาแบบเรารู้ตัวและบางทีก็ไม่รู้ตัว บางครั้งเวลามีคนมาหยอกหรือมาถามว่า ก็รู้สึก หัวร้อน

 

มาพูดคุยถึงอารมณ์หัวร้อน ความรู้สึกโกรธ ขี้วีน กับ Alljit 🙂

 

 

ทำไมเราถึง ‘หัวร้อน โกรธ’ 

 

เจอร์รี เดฟเฟนบาเชอร์ นำเสนอไว้ว่าเป็นผลมาจาก 

 

  • สิ่งกระตุ้น คือ เหตุการณ์ที่กระตุ้นให้เกิดความโกรธ เช่น รถติด โดนพ่อแม่บ่น ทะเลาะกับแฟน 

 

  • ลักษณะนิสัยของแต่ละบุคคล หรือ บุคลิกภาพ 

เช่น การหลงตัวเอง คนที่ชอบการแข่งขัน ไม่ชอบแพ้  และ ความอดทนต่อความคับข้องใจของตัวเองต่ำ หรือช่วงนั้นอยู่ในช่วงอารมณ์ไม่มั่นคง มีความเครียด ความเหนื่อย

 

  • การประเมินสถานการณ์ และการรับรู้ของแต่ละคน 

 

เช่น รู้สึกว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ไม่ยุติธรรมกับตัวเราเลย เรื่องนี้ฉันไม่ได้ทำอะไรผิด ทำไมฉันถึงถูกกระทำแบบนี้ ถูกลงโทษ  

 

 

ความโกรธในเชิงวิทยาศาสตร์

 

ในทางวิทยาศาสตร์ได้มีการอธิบายความโกรธไว้ว่า เป็นสัญชาตยานหนึ่งของมนุษย์ที่มีมาตั้งแต่อดีต

 

ลองนึกถึงภาพว่าสมัยก่อนที่เราอยู่เป็นคนเผ่า ต้องล่าสัตว์ แย่งทรัพยากรในการใช้ชีวิตกัน เราใช้ความโกรธนี่แหละแย่งชิงและสร้างบรรทัดฐานของสังคม 

 

 

รูปแบบ

 

Outward ความโกรธภายนอก สิ่งนี้แสดงออกมาภายนอกต่อบุคคลหรือสิ่งของ เช่น การขึ้นเสียงหรือการขว้างปาสิ่งของ

 

Inward ความโกรธภายใน แสดงออกต่อตัวเอง พูดเชิงลบกับตัวเอง หรือแม้แต่พฤติกรรมทำร้ายตัวเอง

 

Passive ความโกรธแบบไม่โต้ตอบ การแสดงความโกรธทางอ้อม เช่น การใช้คำพูดส่อเสียดหรือการเสียดสี

 

 

อะไรคือสิ่งที่บ่งบอกว่า ‘เป็นคนโกรธง่าย หรือ ความโกรธที่เกิดขึ้นเริ่มเป็นสิ่งที่มากเกินปกติ’

 

  • โกรธแบบส่งผลต่อความสัมพันธ์ของเรากับคนรอบตัว
  • โกรธแล้วจะมองในแง่ลบอย่างต่อเนื่อง มุ่งเน้นไปที่ประสบการณ์เชิงลบ
  • รู้สึกว่าคนที่คิดต่างจากความโกรธของเราคือ ‘ศัตรู’
  • ทะเลาะกับคนอื่นบ่อย ๆ และโกรธมากขึ้นเรื่อย ๆ 
  • มีความรุนแรงทางร่างกาย โกรธจนทำร้ายตัวเอง
  • คุกคามคนอื่นเวลาโกรธ ลงไม้ ลงมือ ทำร้ายคนอื่นแบบจงใจให้รู้สึกว่าสะใจ
  • ทำสิ่งรุนแรง หุนหันพลันแล่น เช่น ขับรถแบบประมาท ทำลายข้าวของ

 

ความโกรธแสดงออกมาในรูปแบบไหนบ้าง 

พฤติกรรมก้าวร้าว (Aggression)

การแสดงออกทางอารมณ์ด้านลบที่รุนแรงทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น คำพูดเสียดสี โมโหร้าย ไม่รับฟังผู้อื่น ตะโกนด่าทอ ทำลายข้าวของ ทำร้ายตัวเอง และทำร้ายคนอื่น

 

 

ซึมเศร้าและวิตกกังวล (Depression and Anxiety)

เรามักถูกสอนตั้งแต่เด็ก ๆ ว่าอารมณ์เชิงลบต่าง ๆ จะไปทำลายความสัมพันธ์ที่ดีกับคนอื่น ทำให้เราเลี่ยงที่จะตอบโต้และพยายามข่มอารมณ์ไว้อยู่เรื่อยมา

 

เพื่อรักษาความสัมพันธ์ แต่มันอาจเป็นดาบสองคมเหมือนกัน เพราะเราต้องแบกทั้งความรู้สึกและความไม่พอใจเอาไว้ จนความโกรธกัดกินจิตใจและกลายเป็นความเศร้าในที่สุด 

 

หรือโกรธมากจนร้องไห้ ส่วนมากจะเป็นเรื่องที่เราโกรธอย่างหนักและไม่สามารถจัดการมันได้ หรือระบายมันออกมาได้ มันอึดอัด มันควบคุมไม่ได้ ร้องไห้เลยเป็นวิธีเดียวที่ได้ที่ทำได้ ณ ตอนนั้น

 

การเงียบใส่ (Silent treatment) 

เพราะการเงียบใส่ดีกว่าตอบโต้แบบขาดสติ บางคนก็เลือกใช้วิธีเงียบ เดินหนีมากกว่าแสดงการโต้เถียง หรืออารมณ์ออกมา ซึ่งการใช้วิธีเงียบเราอาจจะมองว่าเป็นสิ่งที่ดี

 

เพราะเราเงียบเรามีการควบคุมนะการใช้สติ แต่รู้ไหมว่าการเงียบมันสร้างความเจ็บปวดทั้ง 2 ฝ่าย บางครั้งฝ่ายเงียบเงียบนอกจริงแต่ในใจเราอาจกำลังลุกเป็นไฟ

 

ตบตีกับตัวเองและอีกฝ่ายในใจจนกลายเป็นความเก็บกด 

 

 

เราจะผ่อนคลาย ความโกรธ ให้เบาลงได้ยังไงบ้าง

 

เพราะความโกรธเป็นอารมณ์เชิงลบพอ ๆ กับความเศร้าที่บางคนก็ไม่กล้าแสดงความรู้สึกโกรธออกมา ตามมาตรฐานของสังคมเวลาที่เรารู้สึกโกรธ

 

ก็จะมีสายตาที่มองว่าทำไมไม่รู้จักกักเก็บอารมณ์ เพราะโกรธเนี่ยเลยขาดสติเลยทำให้ทุกอย่างพลัง เพราะฉะนั้นเราจะดีลกับความเลือดร้อน ความหัวร้อนของเราได้ยังไงบ้าง 

 

  • รับรู้อารมณ์ตัวเองว่าเรากำลังโกรธอยู่นะ รู้ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นอารมณ์ตัวเองตอนนี้คือเรื่องไม่ปกติ เราหัวใจเต้นเร็วผิดปกติไหม หรือว่ามีอะไรมาสะกิดก็พร้อมติดหมดเลยหรือเปล่า
  • หาวิธีระบายอารมณ์ที่เหมาะสมกับตนเองโดยไม่เดือนร้อนผู้อื่น 
  • รวบรวมสติ สติ สติ ไม่ให้ฟึดฟัดมากเกินไปหากว่าเราอยู่ในพื้นที่ที่เราไม่สามารถระบายความโกรธได้
  • ถ้าควบคุมไม่ได้ให้เดินออกมาจากสถานการณ์นั้น

 

 

เราจะอยู่ร่วมกับคนขี้โกรธอย่างไร 

 

1. ตอบรับได้ แต่อย่าแสดงออกไปด้วยความโกรธ 

ถ้ามีคนมาแสดงความวีน โกรธ เหวี่ยงใส่เรา เราจะทำไงคะแม้ว่ามันอาจจะยาก แต่การฟัง การสงบสติอารมณ์ และโต้ตอบจะช่วยให้ผ่านพ้นสถานการณ์ที่ตึงเครียดได้

 

พยายามหลีกเลี่ยงการโกรธหรือกระวนกระวายใจในระหว่างการพูดคุย แต่ให้พยายามตอบสนองด้วยความเห็นอกเห็นใจและเอาใจใส่แทน

 

สิ่งนี้จะแสดงให้อีกฝ่ายเห็นว่าคุณได้ยินสิ่งที่พวกเขาพูด เข้าใจมุมมองของพวกเขา

 

 

2. Don’t take it personally

แต่มันก็อาจจะไม่เกี่ยวกับเราด้วยซ้ำ ความโกรธของบุคคลนั้นอาจเป็นผลมาจากสิ่งที่คนอื่นพูดก่อนหน้านี้ ที่ตึงเครียดในที่ทำงาน หรือเพียงแค่มีวันที่ยากลำบาก

 

 

3. หันเหความสนใจ 

สิ่งนี้ทำให้พวกเขาสามารถก้าวออกจากความโกรธและอาจสะท้อนถึงพฤติกรรมของพวกเขาได้

 

 

4. กำหนดขอบเขต

กำหนดขอบเขตอาจเป็นสิ่งสำคัญในการรักษาสมดุลทางจิตใจและอารมณ์ของตัวเอง ก่อนที่คุณจะต้องเผชิญกับการจัดการความรู้สึกของคนอื่น ให้พยายามกำหนดขีดจำกัดของตัวเองเสียก่อน

 

 

ความโกรธก็มีประโยชน์?

 

1. เพื่อความอยู่รอด

ความโกรธจะถูกเปิดอัตโนมัติเมื่อเราถูกโจมตีและกระตุ้นให้โต้ตอบ อย่างรวดเร็วและรุนแรง เคยสังเกตไหมคะว่าเวลาเราโดนด่า บางครั้งเราจะมีปฏิกิริยาแบบโต้กลับอัตโนมัติ

 

2. ทำให้มีความคิดสร้างสรรค์

เคยได้ยินไหมว่า อ่านหนังสือสอบด้วยความโกรธ, ทำงานด้วยความโกรธ ความโกรธทำให้เรามีสมาธิกับสิ่งนั้น ๆ มากขึ้น ถ้าเราใช้ความโกรธเป็น

 

โกรธที่มีสติและใช้พลังของความโกรธชมุ่งสิ่งนั้นให้สำเร็จ

 

3. โกรธ ทำให้รู้ว่าเรายังมีความรู้สึกไง มันเป็นเรื่องปกติ ไม่โกรธซิแปลก 

เป็นการตอบสนองทางสังคมและมีผลกระทบทางสังคม ทฤษฎีทางจิตวิทยาถือว่าความโกรธเป็นการตอบสนองต่อความเจ็บปวด

 

ดังนั้นเมื่อเรารู้สึกเจ็บปวด ระคายเคือง หรือผ่านความรู้สึกไม่พึงประสงค์ไปพร้อมกับการตระหนักถึงภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้น เรามักจะโกรธ

 

 

ที่มา :

Science of anger

Anger

The Psychology of Anger