ความรู้สึก หึงหวงน้อยใจ กับผู้คน สัตว์หรือแม้กระทั้งของใช้.. เพราะอะไรเราถึงรู้สึกหึง หวง และน้อยใจ ?
หึง หวง น้อยใจในทางจิตวิทยาคืออะไร ? หากมีความรู้สึกเหล่านี้มากเกินไปจะรับมืออย่างไรดี ? Alljit Podcast
หึง หวง น้อยใจ เหมือนหรือแตกต่าง
ความรู้สึก หึงหวง อ้างอิงจาก APA Dictionary of Psychology ใช้คำว่า Jealousy ในทางจิตวิทยาอธิบายไว้ว่า เป็นอารมณ์ทางลบที่บุคคลมีต่อ ‘บุคคลที่ 3’ ที่มีแนวโน้มว่าจะมาแย่งบางสิ่งบางอย่างไป ในความสัมพันธ์โรแมนติก สิ่งที่กลัวว่าจะถูกแย่งไปคือความรัก
ความรู้สึก น้อยใจ จะเกิดขึ้นเมื่อเราได้รับ Attention หรือการได้รับความสนใจ น้อยกว่าที่ต้องการและคาดหวังไว้ เช่น พูดอะไรบางอย่างออกไป แล้วแฟนไม่ตอบรับอะไร อาจจะเกิดความรู้สึกน้อยใจ
ทำไมไม่ฟังเลย ทำไมไม่สนใจเลย เพราะเราอยากให้แฟนตอบรับหรือมีอารมณ์ร่วมไปด้วย แต่เขาไม่ทำแบบนั้น ทำให้เห็นได้ว่าความรู้สึก หึง หวง น้อยใจ พอมาทำความเข้าใจแล้วแน่นอนว่าแตกต่างกัน
แต่ที่ถูกมัดรวมเพราะความรู้สึกว่าทั้งสามอย่างนี้ถูกส่งต่อกันเหมือนวังวนเริ่มจาก หึง หวง แล้วก็น้อยใจที่ไม่ได้รับความสำคัญ
หึง หวง น้อยใจ ในทางจิตวิทยา?
อ้างอิงจาก APA มีการศึกษาที่ค้นพบว่า Jealousy หรือ ความรู้สึกหึงหวงมีความเชื่อมโยงกับ 3 ปัจจัย
1. Self-esteem (การรับรู้คุณค่าในตัวเอง)
คนที่ไม่เห็นคุณค่าตัวเองจะรู้สึกหึงหวงได้มากกว่า
2. Loneliness (ความเหงา)
คนที่เหงาจะรู้สึกหึงหวงได้มากกว่า
3. Aggression (พฤติกรรมก้าวร้าว)
ความรู้สึกหึงหวงจะทำให้มีพฤติกรรมก้าวร้าวมากขึ้น เช่น ตี ผลัก หรืออาจจะแสดงออกมาในรูปแบบ Passive aggressive เช่น เมินคนที่ตัวเองโกรธ
4. การเลี้ยงดูก็สำคัญเหมือนกัน เราเอาตัวเองเป็นตัวตั้งในสิ่งที่เคยได้รับมาตอนเด็ก-โต แล้วคนที่เข้ามาหาเราทำความรู้จักกับเราไม่ได้ปฏิบัติแบบที่เราเคยได้รับมา
5. ความคาดหวัง สิ่งที่ได้มาไม่เท่ากับสิ่งที่ให้ไป
6. กลัวความโดดเดี่ยว
แต่เราสามารถฝึกฝนความรู้สึก หึง หวง น้อยใจ ได้นะ ..
การที่เราฝึก Self-Awereness การตระหนักรู้ต่อตัวเราเอง รู้จักตัวเอง พอเป็นความสามารถในการรับรู้ ความเข้าใจ ความคิด อารมณ์ ความรู้สึก รวมถึงเข้าใจว่าสิ่งเหล่านี้ส่งผลต่อเรา หรือพฤติกรรมของเราอย่างไรบ้าง
ก็จะทำให้เรามีการฉุกคิดได้ง่ายมากขึ้น ว่าตอนนี้เรากำลังรู้สึกแบบนี้อยู่นะ เพราะว่าตอนที่เรา หวง หึง น้อยใจ บางทีเราก็ไม่ได้ยอมรับตัวเองว่าเรากำลังรู้สึกแบบนี้อยู่ เหมือนว่าพอเรารู้สึกแบบนี้มันเป็นอารมณ์เชิงลบที่เราผลักออกไป ไม่ใช่ ไม่จริง กว่าจะยอมรับได้อาจระเบิดอารมณ์ไปแล้ว
ความรู้สึก หึงหวง จะจัดการอย่างได้บ้าง
ความรู้สึกนี้มีที่มาได้หลายอย่าง เช่น เป็นเพราะ rival หรือบุคคลที่ 3 มีลักษณะที่เราอคติหรือไม่ชอบเป็นการส่วนตัวหรือเปล่า เลยรู้สึกหึงหวง
เป็นเพราะเรากำลังยึดติดกับความเชื่อบางอย่างอยู่หรือเปล่า เช่น อาจจะเคยมีประสบการณ์โดนนอกใจมา เลยระแวงว่า แฟนไม่ตอบข้อความ แฟนไปคุยกับคนอื่นหรือเปล่า ซึ่งการยึดติดกับความเชื่อจะทำให้หลงลืมมุมมองอื่น ๆ ไปว่า แฟนอาจจะติดงาน แฟนอาจจะเกิดอันตราย อาจจะต้องทบทวนตัวเองเพื่อปรับเปลี่ยนมุมมองให้ไม่ทำร้ายตัวเองและคนรอบข้าง
ความรู้สึก น้อยใจ
Recheck ความต้องการและความคาดหวังของตัวเอง ว่ายังอยู่บนพื้นฐานความเป็นจริงอยู่ไหม ธรรมชาติของมนุษย์ต้องการ Attention อยู่แล้ว แต่ถ้าความต้องการนั้นมากเกินไป เช่น แฟนต้องคุยด้วยตลอดเวลา
ซึ่งเป็นไปไม่ได้ คงต้องจัดการตัวเองไม่ให้ความต้องการนั้นทำร้ายใคร อาจจะใช้วิธีการลดความคาดหวัง รวมถึงหันไปโฟกัสสิ่งอื่น ๆ เพิ่มเติม เพราะถ้าเรามีอะไรทำ เรามีอะไรที่ต้องใส่ใจ เรื่องอื่น ๆ จะมีความสำคัญน้อยลงไปเองตามธรรมชาติ
การสื่อสารเป็นเรื่องสำคัญ อ้างอิงจากบทความ Bustle กล่าวไว้ว่า ลองพูดคุยแลกเปลี่ยนกับอีกฝ่ายดู ว่าความกลัวและความกังวลของเขามีหน้าตาแบบไหน แล้วพยายามเข้าใจเขาจากมุมมองเขา ถ้าเป็นไปได้ ลองทำบางสิ่งบางอย่างที่เป็นการแสดงออกว่าเราใส่ใจเขาให้มากขึ้นด้วย จะช่วยได้
หึง หวง น้อยใจ ยังไงให้น่ารัก ไม่ toxic?
จาก Psych central
พูดออกไปอย่างตรงไปตรงมา
เกี่ยวกับความรู้สึกหึงหวง น้อยใจ ที่เกิดขึ้น เพื่อให้เกิดความเข้าใจกัน ปรับจูนกัน เพื่อเติมเต็มความรู้สึกและความสัมพันธ์ระหว่างกัน เลือกที่จะสื่อสารเน้นบอกความรู้สึกของตัวเอง เช่น เรารู้สึกว่า เราคิดว่า แทนการไปจู่โจมหรือตำหนิอีกฝ่าย แล้วก็การพูดอ้อมไม่ได้ทำให้เห็นความรู้สึกจริง ๆ ที่เราพูดออกไป
ปล่อยวางอคติ
ความหึงหวง อาจไม่ใช่ความรู้สึกที่แย่เสมอไป ลองหยุดตัดสินว่า ความรู้สึกแบบนี้เป็นสิ่งที่ ‘แย่’ หรือ ‘ผิด’ เพราะจริง ๆ ความหึงหวงอาจจะเป็นสัญญาณเตือนที่ดี ว่าเรามีส่วนไหนภายในจิตใจที่ยังไม่ได้รับการเติมเต็ม ซ่อมแซม
ยอมรับความรู้สึกที่เกิดขึ้น
เวลาเกิดเหตุการณ์ต่าง ๆ เกิดขึ้นให้ฝึกสังเกตว่าเราโอเคกับอะไรไม่โอเคกับอะไร ถ้าเรายอมรับกับอารมณ์เหล่านี้ได้ เราจะเข้าใจตัวเราเอง
เอาใจเขามาใส่ใจเรา
ลองคิดว่าถ้าเราโดน toxic ใส่เราคงรู้สึกอึดอัดและไม่สบายใจเหมือนกัน ลองขอความร่วมมือ รับฟัง เคารพความเห็น เพื่อร่วมกันหาทางออกในความสัมพันธ์
ลองมองในสายตาคนนอก
ลองคิดในมุมคนนอกที่เรามองคนที่เรารู้สึกด้วย เช่น หึง หวง เพื่อนคนนี้มาก ๆ เพราะเขาเป็นคนน่ารัก นิสัยน่ารักมาก ๆ ก็ไม่แปลกเหมือนกันที่คนอยากจะมาทำความรู้จักเพื่อน พูดคุยสนิทกับเพื่อนเหมือนกัน แต่ถ้าเราหึงหวง toxic ใส่มาก ๆ เขาอาจไปจากเราก็ได้
สุดท้ายแล้วอยากฝากมุมมองดี ๆ จากบทความนี้ส่งท้าย “ลองอนุญาตให้ตัวเองเป็นแค่มนุษย์คนหนึ่ง ที่สามารถมีความรู้สึกหรือความคิดที่เราไม่ต้องการได้” เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นประสบการณ์ที่ใคร ๆ
ต่างก็พบก็เจอกันทั้งนั้น สนใจที่สาเหตุและเรื่องราวเบื้องหลังนั้นดีกว่า ว่าเพราะอะไรเราถึงรู้สึกหรือคิดแบบนี้ เพื่อให้เข้าใจตัวเองและเมตตาตัวเองมากขึ้น
ถ้าเราโอเคกับการที่รับรู้ว่า “เราก็แค่คน ๆ หนึ่ง” คงไม่ทำให้รู้สึกแย่ซะจนส่งต่อความรู้สึกนี้ไปสู่คนรอบข้างด้วย เรียนรู้ที่จะอยู่กับอารมณ์ไม่ให้ความคิดในแง่ลบมากระทบกับจิตใจของเรา เพื่อปกป้องไม่ให้ความรู้สึกแย่เกิดในความสัมพันธ์
ติดตามบทความอื่น ๆ ได้ที่นี่
ที่มา
APA Dictionary of Psychology
Study links jealousy with aggression, low self-esteem
How To Deal With A Jealous Partner
Post Views: 2,826