มนุษย์มีความผูกพัน ต่อธรรมชาติ ซึ่งเกิดจากพันธุกรรมและหยั่งรากลึกในวิวัฒนาการ
เคยสงสัยไหมว่าทำไมคนส่วนใหญ่ถึงชอบจองที่พัก ที่มองเห็นวิวสวยงามจากระเบียง
ทำไมผู้ป่วยที่ได้รับมุมมองที่เป็นธรรมชาติจากเตียงในโรงพยาบาลจึงฟื้นตัวได้เร็วกว่าคนอื่นๆ
หรือเมื่อความเครียดส่งผลเสียต่อจิตใจของเรา เราจึงกระหายเวลาที่จะค้นพบสิ่งต่างๆ ท่ามกลางธรรมชาติ?
แฟรงก์ ลอยด์ ไรต์ สถาปนิกชื่อดัง เคยกล่าวไว้ว่า “ ศึกษาธรรมชาติ รักธรรมชาติ ใกล้ชิดกับธรรมชาติ ” มันจะไม่ทำให้คุณล้มเหลว
Nature Therapy
“Nature Therapy” คือ การบำบัดด้วยธรรมชาติ ที่ครอบคลุมกิจกรรมทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับธรรมชาติ
การที่มนุษย์ต้องพบกับโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ นั้นอาจเพราะพาตัวเองห่างออกจากธรรมชาตินั่นเอง โดย Ecotherapy เป็นการเชื่อมโยงมนุษย์เข้ากับธรรมชาติอีกครั้ง
มนุษย์ผูกพันธ์กับธรรมชาติยังไง
ข้อมูลจากมูลนิธิไทยรักป่า ได้กล่าวไว้ว่า ตั้งแต่ที่เราเกิดมาลืมตาดูโลก เราสูดอากาศหายใจจากธรรมชาติ นั้นก็คือ ออกซิเจน
ในสมัยแรก ๆ ปัจจัยการดำรงชีวิตทุกอย่างได้มาโดยตรงจากธรรมชาติ ทั้งอาหาร ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม และยารักษาโรค
นอกจากนี้แล้ว มนุษย์ ก็มีความความผูกพันและความเชื่อกับธรรมชาติมานานแล้ว
หลักความเชื่อ พิธีกรรม และศาสนา วัฒนธรรมของคนไทย ก็มีความเชื่อว่า ธรรมชาติทุกอย่างต้องพึ่งพาอาศัยกัน
มีการเกื้อกูลพึ่งพากันในระบบนิเวศ ซึ่งความเชื่อนี้ นำไปสู่พิธีกรรมเกี่ยวกับป่า
และกลายมาเป็นวัฒนธรรมประเพณีสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน เช่น การบวชป่า ที่บ่งบอกถึงเจตนาของชุมชนที่แสดงออกถึงการรู้คุณค่าของทรัพยากรป่าไม้
ธรรมชาติทำให้สุขภาพจิตดีขึ้นได้จริงไหม?
- ธรรมชาติช่วยในการควบคุมอารมณ์และปรับปรุงการทำงานของสมองส่วนความจำ การศึกษาเกี่ยวกับประโยชน์ด้านการรับรู้ของธรรมชาติพบว่า ผู้เข้าร่วมที่เดินชมธรรมชาติจะมีความจำที่ดีกว่าผู้ที่เดินไปตามถนนในเมือง (Berman, Jonides และ Kaplan, 2008)
- การเดินชมธรรมชาติเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้า ผลการศึกษาพบว่า คนที่เป็นโรคซึมเศร้า ระดับเล็กน้อยถึงรุนแรงจะมีอารมณ์ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเมื่อสัมผัสกับธรรมชาติ ไม่เพียงเท่านั้น แต่พวกเขายังรู้สึกมีแรงบันดาลใจและมีพลังมากขึ้นในการฟื้นตัว (Berman et al., 2012)
- ผลการวิจัยล่าสุดพบว่าการอยู่กลางแจ้งช่วยลดความเครียดโดยการลดฮอร์โมนความเครียดคอร์ติซอล (Gidlow et al., 2016; Li, 2010)
- การศึกษาที่มหาวิทยาลัยแคนซัสพบว่าการใช้เวลากลางแจ้งมากขึ้นและใช้เวลากับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์น้อยลงจะช่วยเพิ่มทักษะในการแก้ปัญหาและความคิดสร้างสรรค์ได้ (Atchley, Strayer, & Atchley, 2012)
- การทดลองขนาดใหญ่ที่ดำเนินการกับผู้เข้าร่วม 120 ราย ยืนยันถึง ‘การเชื่อมโยงทางธรรมชาติ’ ในการลดความเครียดและการเผชิญปัญหาผู้เข้าร่วมแต่ละคนสังเกตภาพทิวทัศน์ธรรมชาติหรือสภาพแวดล้อมในเมือง ข้อมูลที่ได้จากการสำรวจครั้งนี้เผยให้เห็นว่า
- ผู้เข้าร่วมที่ดูภาพสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติมีคะแนนความเครียดต่ำ และมีการเต้นของหัวใจและชีพจรดีขึ้น (Ulrich et al., 1991)
โรคขาดธรรมชาติ
โรคขาดธรรมชาติ Nature Deficit Disorder มีการพูดถึงครั้งแรกในปี ค.ศ.2005 Richard Louv นักเขียนชาวอเมริกัน
ผู้เขียนหนังสือ The Nature Principle และ Last Child in the Woods กล่าวไว้ว่า เด็กที่ไม่ได้เชื่อมโยงกับธรรมชาติ
ไม่มีกิจกรรมนอกบ้านหรือห้องเรียนให้ได้สัมผัสจับต้องกับธรรมชาติอย่าง ต้นไม้ ดินหญ้า ลำธารหรือสวนสาธารณะ
แต่ใช้เวลาอยู่แต่กับการเล่นมือถือ เกม คอมพิวเตอร์ หรือเรียนพิเศษจนหมดวัน ก็อาจจะทำให้ขาดความคิดสร้างสรรค์ได้
โรคขาดธรรมชาตินี้จะยังไม่ได้มีการระบุทางการแพทย์ว่าเป็นหนึ่งในโรค
เพราะว่าในธรรมชาตินั้นมีสิ่งซ่อนเร้นอยู่ แสง สี เสียง กลิ่น อุณหภูมิ ที่ทำให้ประสาทสัมผัสของเรารับรู้
มีการทำปฎิกิริยากับระบบประสาทต่างๆ ของร่างกายเราโดยอัตโนมัติ และส่งต่อไปยังสมอง
จนเกิด “ความรับรู้เชิงบวก” (Positive Perception) หรือที่เราเรียกว่า “รู้สึกดี” เพราะฉะนั้นเมื่อรู้อย่างนี้แล้วก็อยากให้ทุกคนไปสัมผัสธรรมชาติกัน
ตัวอย่างธรรมชาติบำบัด
- การปลูกต้นไม้
- เดินเล่นสวนสาธารณะ
- การจัดแต่งห้อง / โต๊ะทำงานให้มีสีเขียว
- ท่องเที่ยวธรรมชาติ
- อาบป่า ดูนก ชมไม้
สุดท้ายก็อยากฝากไว้ด้วยว่า ทำกิจกรรมที่เหมาะสม กับเวลาและสถานที่ เคารพกฎกติกา และ เมื่อเราใช้ธรรมชาติมาเยอะขนาดนี้ เราก็ดูแลธรรมชาติกันนะ 🙂
Post Views: 3,431