Attachment Styles

เพราะอะไรเราถึงรักอย่างที่เรารัก (Attachment Styles)

เรื่องAdminAlljitblog

สเปคหรือไทป์ของมาจากไหน ทำไมบางคนเวลามีแฟนแล้วตัวติดแฟนมาาก มีความขี้หึง ขี้กังวล

 

ขณะที่บางคนบอกว่าอยากมีแฟนแต่พอมีคนมาจีบก็ปัดหนีตลอด สงสัยไหมว่าทำไมบางคนรีแอคกับความรักแตกต่างกัน

 

 

Attachment Theory

ทฤษดี Attachment Theory ที่บอกว่าโดยทั่วไปแล้วคนเราจะมีรูปแบบความสัมพันธ์อยู่ 4 แบบ มนุษย์โดยส่วนใหญ่มีรูปแบบความสัมพันธ์เป็นหนึ่งในสี่แบบนี้

 

Attachment Theory หรือทฤษฎีรูปแบบความสัมพันธ์ กำเนิดมาจากนักจิตวิทยา John Baldwin ซึ่งเป็นคนริเริ่มคำว่า Attachment

 

และเชื่อว่าความสัมพันธ์ในช่วงแรก ๆ ของชีวิตเรา (เรากับผู้เลี้ยงดู) เป็นเหมือนแม่แบบที่เราใช้ในการสร้างความสัมพันธ์อื่นๆ ในอนาคตด้วย 

 

นักจิตวิทยา Marry Ainsworth เอาแนวคิดของ John มาศึกษาต่อ 

 

 

Secure Attachment

 

ตอนเป็นทารก ผู้เลี้ยงดูค่อนข้างใส่ใจ ถ้าเราร้องแล้วพ่อแม่มาดูเพื่อปลอบเราและพยายามจะให้สิ่งที่เราต้องการ

 

สมองของเราจะเรียนรู้ว่า มันปลอดภัยที่จะแสดงอารมณ์ของเราออกมา มันปลอดภัยที่เราจะแสดงความต้องการออกมา มันปลอดภัยที่จะพึ่งคนอื่น แล้วก็รู้สึกได้รับความรัก 

 

เรียนรู้ว่า “ฉันคู่ควรที่จะได้รับความรัก”

 

อีกลักษณะที่เห็นได้ชัดเลยคือ คนประเภทนี้จะเห็นคุณค่าในตัวเองและมองโลกในแง่ดี กล้าเป็นตัวของตัวเองในความสัมพันธ์

 

เพราะพอเราแสดงออกได้รับการตอบสนอง มันก็เหมือนกับทำให้เรามั่นใจและรู้สึกปลอดภัยที่จะแสดงออก

 

Anxious Attachment

 

กลุ่มนี้ในวัยเด็กได้รับความรักแต่ไม่สม่ำเสมอ เช่น พ่อแม่ติดงานนาน ๆ มาอยู่ด้วยบ้างแต่ก็ต้องไปอยู่กับยายกับญาติบ้าง 

 

มีความไม่สม่ำเสมอในการได้รับความรัก สมองเรียนรู้ตั้งแต่เด็กว่า ความรักมันชั่วคราว เราได้รับความรักแต่มันได้แล้วก็โดนพรากจากไปเสมอ

 

นักจิตวิทยาเปรียบไว้ว่า อยากได้ความรักมาก แต่ก็เหมือนโกยทราย กำแน่นมากทรายก็ไหลออกไปหมดเสมอ 

 

กลายเป็นคนที่ไม่เคยรู้สึกเติมเต็ม รู้สึกว่าความรักเป็นอะไรที่ชั่วครั้งชั่วคราว

 

แผลใจของคนกลุ่มนี้ก็คือ กลัวการถูกทอดทิ้ง กลัวการอยู่คนเดียว 

 

Avoidant Attachment

 

เป็นทารกที่โดนละเลยทางอารมณ์ จริง ๆ มีสองกรณี คือ ผู้เลี้ยงดูไม่อยู่เลย ไม่มาดูแล ไม่ใส่ใจ 

 

อีกแบบคืออยู่แต่จะละเลยเวลาที่เด็กแสดงอารมณ์ไม่ว่าจะบวกหรือลบ เช่น ร้องก็ปล่อยให้ร้องอย่าโอ๋ ไม่ถามอารมณ์ว่าลูกรู้สึกยังไง

 

หรือเป็นพ่อแม่ที่เย็นชาไม่ตอบสนองทางอารมณ์ใด ๆ เลย เด็กจะโตมาโดยที่ไม่รู้ว่าอารมณ์ไหนดี/ไม่ดี 

 

เกิดความรู้สึกละอายหรือไม่เป็นที่ต้องการ แล้วก็ค่อย ๆ สร้างเกราะป้องกันตัว เพื่อพยายามแสดงออกว่าตัวเองเข้มแข็ง แข็งแรง ไม่ต้องพึ่งใคร

 

คนประเภทนี้จะโฟกัสความรู้สึก ตัวเองมากเพราะเขาได้รับความรักและการดูแลมาไม่สม่ำเสมอหรืออาจจะไม่เคยได้รับเลย

 

เป็นธรรมดาที่จะเกิดความรู้กลัว กังวลในการสานสัมพันธ์ มีแฟนได้นะ แต่ถ้าคนที่เข้ามาดันใกล้ชิดเขามากเกินจนเขารู้สึกอึดอัด

 

เขาจะตีตัวออกห่างทันทีถึงจะชอบก็เถอะ เลยอาจทำให้คนประเภทนี้มักจะมีความสัมพันธ์ระยะสั้น 

 

 

Fearful Attachment

 

เป็นทารกที่เจอหนักที่สุด โตมาในความวุ่นวาย เช่น พ่อแม่ที่ติดเหล้า หรือกำลังจะหย่า (ทะเลาะกัน) คือ บางวันพ่อแม่อาจจะใจดี อีกวันโกรธ

 

โตมาในความสัมพันธ์ที่ไม่มีอะไรแน่นอน สะเปะสะปะไปหมด

 

และโตมากับความรู้สึกที่ว่ารักก็ดีแต่ก็น่ากลัว อยากได้ความใกล้ชิดแต่ก็กลัว เพราะไม่เข้าใจด้วยว่าความสัมพันธ์จริง ๆ หน้าตาเป็นแบบไหน

 

รู้สึกว่าตัวเองไม่มีคุณค่า ความรักความสัมพันธ์เป็นเรื่องน่าสับสน อยากได้ความรักความใกล้ชิดแต่ก็ไม่เข้าใจ

 

ทุกอย่างของจิตวิทยา มีชื่อเพื่อให้รู้ว่ามันคืออะไรและรับมือยังไง แต่ไม่ได้เอาไว้แปะป้าย หรือจัดประเภทใคร

 

Attachment สามารถเปลี่ยนได้ผ่านการไปพบจิตแพทย์ การรักษาแผลใจของเรา หรือการทำงานกับตัวเอง

 

ถ้าเรามีความสัมพันธ์ที่ดีต่อตัวเอง ก็ช่วยได้เหมือนกัน มันไม่ใช้อะไรที่ถาวรซะทีเดียว

 

เพราะทฤษฎีถูกสร้างมาเพื่ออธิบายสาเหตุของคนแต่ละประเภท ซึ่งจริง ๆ การเลี้ยงดูเป็นส่วนสำคัญในการที่จะพิสูจน์

 

เพราะเราโตมาแบบนั้นเราถึงเป็นคนแบบนี้ แต่อีกครึ่งหนึ่ง พี่คิดว่ามันมาจากประสบการณ์ที่เราเจอ

 

บางคนโตมาดีแต่เจอความสัมพันธ์อะไรก็ไม่รู้ เขาก็อาจจะเกิด trust issue หรืออะไรอื่น ๆ ที่อาจจะส่งผลต่อตัวตนหรือความรักครั้งหน้าได้ 

 

 

ที่มา :

เมื่อการเลี้ยงดูในวัยเด็ก ส่งผลต่อความสัมพันธ์ในวันที่เติบโต

Attachment Styles: How They Affect Adult Relationships

Attachment style – รูปแบบความผูกพัน