เพราะชีวิตไม่ได้มาพร้อมกับคู่มือ เมื่อเจอกับปัญหาเรามีความเข้มงวดหรือยืดหยุ่นในการตัดสิน วันนี้มาทำความรู้จักกับ ความยืดหยุ่นทางใจ สิ่งที่จะช่วยลดความกดดันภายในใจของเรา
เคยรู้สึกกดดันเพราะเข้มงวดหรือยืดหยุ่นเกินไปไหม
เข้มงวด & ยืดหยุ่น คืออะไร?
เข้มงวด ( Rigid )
เข้มงวด ยึดมั่น ไม่ยืดหยุ่น ไม่ยอมเปลี่ยนพฤติกรรม ความคิดเห็น และทัศนคติของตัวเองง่าย ๆ คนที่เข้มงวดมักจะต้องแบกความรู้สึกทางลบและจัดการกับปัญหาโดยกดดันตัวเอง บังคับตัวเอง
ยืดหยุ่น ( Resilient )
ยืดหยุ่น คือ สามารถปรับตัวปรับใจได้ดีต่อสถานการณ์ต่าง ๆ Dr. Sood กล่าวว่า มีองค์ประกอบ 5 อย่างคือ ความรู้สึกขอบคุณ, ความเห็นอกเห็นใจ, การยอมรับ, การให้ความหมายต่อสิ่งต่าง ๆ และการให้อภัย
ความยืดหยุ่นทางใจ (Resilience) คืออะไรในทางจิตวิทยา?
เว็ปไซต์ APA กล่าวว่า ความยืดหยุ่นทางใจเป็นกระบวนการในการปรับตัวปรับใจกับสถานการณ์ที่ยากลำบากและความท้าทายในชีวิต
ทฤษฎีกล่าวว่าความยืดหยุ่นทางใจไม่ใช่ลักษณะนิสัยที่คงทนถาวร เราสามารถปรับเปลี่ยนหรือฝึกฝนได้
จากการศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสารปี 2022 พบว่า คนที่มีความยืดหยุ่นทางใจ จะมีความสามารถในการจัดการกับปัญหาได้ดี มี EQ สูง มีชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีกว่าคนเข้มงวด รวมถึงมีความพึงพอใจในชีวิตที่มากกว่าด้วย
ความยืดหยุ่นทางจิตใจ หมายถึง ความสามารถของ บุคคลในการปรับตัวให้คืนสู่สภาพเดิม ภายหลังเผชิญกับปัญหาและอุปสรรคสำคัญในชีวิต ทั้งปัญหา ด้านสุขภาพ ด้านเศรษฐกิจ ปัญหาครอบครัว และภาวะวิกฤตต่างๆ ของชีวิต
ความยืดหยุ่นทางใจ ขึ้นอยู่กับอะไร?
จาก APA กล่าวว่า ความยืดหยุ่นทางใจขึ้นอยู่กับว่า คน ๆ นั้นสามารถปรับตัวปรับใจกับความทุกข์ยากที่พบเจอได้มากน้อยแค่ไหน มีปัจจัย 3 อย่างหลัก ๆ คือ
1.มุมมองที่มีต่อโลก
2.คุณภาพของความสัมพันธ์ที่มี
3.วิธีการแก้ไขปัญหาเฉพาะตัว
ความยืดหยุ่นทางใจ สำคัญยังไง?
หลาย ๆ คนบอกว่า Resilience skill นี่ สำคัญมากในยุคนี้ เพราะเป็นทักษะความยืดหยุ่นทางจิตใจ มีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตในสังคมปัจจุบัน เนื่องจากความยืดหยุ่นทางใจจะช่วยให้เราสามารถรับมือกับภาวะวิกฤตต่าง ๆ ของชีวิต
ซึ่งบางครั้งเกิดขึ้นโดยไม่คาดฝัน โดยสามารถกลับมาดำเนินชีวิตอย่างปกติสุขได้อย่างรวดเร็ว ภายหลังเผชิญกับภาวะวิกฤติในชีวิต
ความยึดหยุ่นช่วยให้เราให้มีวุฒิภาวะมากขึ้น ช่วยให้บุคคลมีความอดทนต่อความยากลำบาก ในช่วงที่กำลังเผชิญกับภาวะวิกฤติของชีวิต และช่วยสร้างกำลังใจให้ลุกขึ้นสู้และลงมือแก้ไขปัญหา
คุณลักษณะสำคัญของผู้ที่มีความยืดหยุ่นทางจิตใจ
เดวิส (Davis 1999) ได้กล่าวถึงคุณลักษณะสำคัญของผู้ที่มีความยืดหยุ่นทางจิตใจ โดยสรุปว่า ผู้ที่มีความยืดหยุ่นทางใจ จะต้องประกอบด้วยความสามารถ 6 ประการ ดังต่อไปนี้
1. ความสามารถทางด้านร่างกาย (Physical competence)
ได้แก่ การมีสุขภาพที่ดี มีอารมณ์ราบรื่น สามารถปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อม มีปฏิกิริยาสนองตอบทางอารมณ์เพียงเล็กน้อยถึงปานกลาง เมื่อเผชิญกับสถานการณ์ใหม่ๆ
2. ความสามารถทางด้านสังคมและสัมพันธภาพ (Social and relation competence)
ได้แก่ ความสามารถในการพัฒนาและรักษาไว้ มีความไว้วางใจ มีความสามารถและมีโอกาสในการ ช่วยเหลือบุคคลที่สามารถให้ความช่วยเหลือตนเอง มีความสามารถในการตระหนักรู้ และแสดงบทบาทที่ มีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น
3. ความสามารถทางด้านการรู้คิด (Cognitive competence)
ได้แก่ ความสามารถในการวางแผน การแก้ไขปัญหา มองอนาคตอย่างมีความหวัง มองโลกในแง่ดี มีความเชื่อในการควบคุมตนเอง มีความเชื่อว่าทุกคนสามารถประสบความสำเร็จ
และมีความสามารถในการประเมินการรู้คิดที่เพียงพอและตรงตามความเป็นจริง
4. ความสามารถทางด้านอารมณ์ (Emotional competence)
ได้แก่ ความสามารถในการคบคุมอารมณ์ มีความอดทนพร้อมที่จะรอคอยโอกาส มองเห็นคุณค่าในตนเองตามความเป็นจริง และมีความสามารถในการสร้างอารมณ์ขัน
5. ความสามารถทางด้านคุณธรรม (Moral competence)
ได้แก่ การช่วยเหลือบุคคลอื่น มีความรับผิดชอบต่อสังคม มีความเข้าอกเข้าใจผู้อื่น มีความผูกพันและมีส่วนร่วมในสังคม
6. ความสามารถทางด้านจิตวิญญาณ (Spiritualcompetence)
ได้แก่ การมีศรัทธา มีศีลธรรม เช่น ความซื่อสัตย์ มองเห็นความหมายในชีวิต มีความยุติธรรม นับถือตนเอง และการมองเห็นคุณค่าในตนเอง
สรุปได้ว่า ผู้ที่มีความยืดหยุ่นทางจิตใจ มีคุณลักษณะสำคัญ ทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ ด้านอารมณ์ การรู้คิด และด้านจิตวิญญาณ
เช่น มีสุขภาพดี มีอารมณ์มั่นคง มีอารมณ์ขันเห็นคุณค่าในตนเอง มีเป้าหมายในชีวิต มีความกระตือรือร้น มีทักษะในการแก้ปัญหา และสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่น ได้อย่างเหมาะสม เป็นต้น
ยืดหยุ่นมากไปมีข้อเสียไหม?
1. อาจจะทำให้ใจอ่อนกับตัวเอง ละเลยเป้าหมายที่ตั้งไว้
2. อาจเกิดการซุกปัญหาไว้ใต้พรม ไม่แก้ปัญหาที่ควรแก้และ ปัญหาอาจจะบานปลายได้
3. อาจเกิดการผัดวันประกันพรุ่งขึ้นได้
อยากมี ความยืดหยุ่นทางใจ ต้องทำยังไง?
1. ผ่อนปรนให้กับเรื่องต่าง ๆ
บางทีชีวิตจะนำพาปัญหามาให้ การเข้มงวด ตำหนิ กดดัน ตัวเองเพื่อให้ก้าวผ่านเรื่องราวต่าง ๆ นั้นไปได้ไม่ใช่ได้ดีต่อการแก้ไขปัญหาเสมอไป ลอง Easy on yourself ลองให้เวลาตัวเองบ้าง
2. พูดคุยกับคนรอบข้าง
ไม่ว่าจะเป็นเพื่อน ครอบครัว เพราะการแลกเปลี่ยนกับคนรอบข้าง จะช่วยให้เรามีมุมมองที่กว้างขึ้น การเปิดรับความคิดเห็นของคนอื่นอาจจะทำให้ความยืดมั่นในบางสิ่งบางอย่างลดลงได้
3. ฝึกฝนการจัดการอารมณ์ตัวเอง
จากการศึกษาที่ตีพิมพ์ลง Frontiers ปี 2017 กล่าวว่า การจัดการอารมณ์ตัวเองเป็นเรื่องสำคัญ เพราะจะทำให้เราสามารถจดจ่อกับการทำสิ่งที่ท้าทายต่าง ๆ ได้ รวมถึงจะช่วยให้เรามีความยืดหยุ่นพอสิ่งต่าง ๆ มากขึ้นด้วย
4. สร้างพื้นที่ปลอดภัยให้ตัวเอง
ถ้าพยายามยืดหยุ่นแล้วแต่ไม่ได้จริง ๆ ลองสร้างพื้นที่ปลอดภัยให้ตัวเอง ต้องเป็นที่ที่เราจะปล่อยวาง ไม่ต้องเครียดไม่ต้องคิดมาก เช่น ห้องนอนของตัวเอง ตั้งไว้ว่าจะเป็นที่ที่เราจะให้ตัวเองเป็นอิสระ
เทคนิคล้มแล้วลุกได้เร็ว
1.ยอมรับความจริง โดยอิงกับสิ่งที่เลวร้ายที่สุด
2.ค้นหาความหมาย กล้าทบทวนตนเอง
3.ต่อสู้ในทุกสิ่งที่ตัวเองมี แล้วพัฒนาไปกับมัน
ที่มา :
Resilience
10 tips to build skills on bouncing back from rough times
What Is Resilience?
ความยืดหยุ่นทางจิตใจ
Post Views: 2,441