เมื่อต้องอยู่ร่วมกับผู้ป่วย โรคซึมเศร้า เราจะช่วยเหลือเขาได้อย่างไรบ้าง และเราจะดูแลตัวของเราอย่างไรดี
ความยากของการอยู่ร่วมกับผู้ป่วย โรคซึมเศร้า
ความยากมีระดับความยากที่แตกต่างกัน ไม่ว่าคนนั้นจะเป็นแฟน เพื่อน หรือ คนในครอบครัว
อาจมีความสับสนเกิดขึ้นในจิตใจแบ่งเป็นสองข้างคือเราต้องดูแลผู้ป่วย เพราะเป็นโรคซึมเศร้าแต่เราก็ไม่โอเคกับบางพฤติกรรมที่มาจากการป่วยของเขาเลย เช่น การที่เขาหงุดหงิดใส่
หรือ การที่เขาไล่ให้เราไปไกล ๆ แต่ทั้งหมดอยากให้เราทำความเข้าใจว่าผู้ป่วยไม่ได้อยากที่จะทำพฤติกรรมแบบนั้น บางพฤติกรรมส่งผลมาจากสารเคมีในสมองเวลาป่วย
แต่ก็เป็นความรู้สึกแย่ของผู้ดูแลถึงแม้จะเข้าใจ แต่ความรู้สึกที่เกิดขึ้นต้องหาวิธีจัดการกับความรู้สึกของผู้ดูแล
ดูแลผู้ป่วยซึมเศร้าอย่างไร?
การดูแลผู้ป่วยเป็นเรื่องยากที่จะดูแลได้ทั้งหมด พยายามไม่กดดันตัวเอง และคาดหวังว่าตัวเองจะต้องดูแลผู้ป่วยให้หายดีได้ในทันที ไม่แบกรับทุกอย่างไว้คนเดียว
เราที่เป็นผู้ใกล้ชิดผู้ป่วย เราเลือกที่จะรับฟังเขาอยากตั้งใจ เข้าใจปัญหาที่เขาเผชิญและไม่ตัดสินปัญหาของเขาผ่านมุมตัวเอง ควรมีผู้เชี่ยวชาญดูแลควบคู่กับการดูแลผู้ป่วย
คำพูดที่ควรหลีกเลี่ยง ในการสื่อสารกับผู้ป่วยโรคซึมเศร้า
คนที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้ามีอาการและรายละเอียดแตกต่างกัน คำพูดบางคำอาจมีผลกระทบที่รุนแรงหรือเฉย ๆ ไม่รู้สึกอะไร
เมื่อเรารู้สึกกังวลใจ อยากดูแลจิตใจผู้ป่วย เราสามารถเปิดใจคุยกับเขาตามตรงได้ ว่าเรารับรู้ความรู้สึกของเขาที่เขาดูเศร้าหรือเสียใจ
บางคำพูดหรือจุดประสงค์ของเราอาจจะไม่ตรงกับที่เขาต้องการ หากเขาต้องการให้ช่วยอย่างไรบอกกับเราได้ เราจะคอยซัพพอร์ตเขาเสมอ
เพียงแค่เราแสดงออกว่าห่วงใยและเข้าหาเขาในช่วงเวลาที่เขารู้สึกแย่ ก็เป็นสิ่งที่ดีที่เราช่วยเหลือเขาได้และเขาไม่ได้โดดเดี่ยวคนเดียว
ความโดดเดี่ยวเป็นปัจจัย ที่ทำให้เกิดอาการรุนแรงในผู้ป่วยซึมเศร้า
การแสดงออกว่าเรารับรู้ถึงความรู้สึกของผู้ป่วย รับฟังสิ่งที่เขารู้สึกก็เป็นตัวช่วยที่ทำให้เขาไม่รู้สึกโดดเดี่ยวคนเดียว
การมีคนที่พร้อมรับฟังในเวลาที่เขาต้องการ ทำให้ความโดดเดี่ยวเบาบางลงได้ การสื่อสารสำคัญมากบอกความรู้สึกของทั้งสองฝ่ายให้เข้าใจกันได้มากขึ้น
วิธีการดูแลตัวเองเมื่อต้องอยู่กับผู้ป่วยโรคซึมเศร้า
การโฟกัสและให้ความสำคัญกับผู้ป่วยตลอดเวลา อาจทำให้เราละเลยความรู้สึกของตัวเองไป
การพยายามทุ่มเทเวลาทั้งหมดเพื่อดูแลผู้ป่วยโรคซึมเศร้า ก็สามารถทำให้เราหมดไฟ รู้สึกแย่กับตัวเองและหลงลืมการดูแลตัวเองไป
ลองเริ่มแบ่งขอบเขตให้กับตัวเองอย่างชัดเจน อาจไม่ต้องใช้เวลามากแค่ช่วงเวลาเล็ก ๆ ที่เราสามารถแบ่งกลับมาให้ตัวเองได้ลองกลับมาตั้งคำถามกับตัวเอง
ว่าเราต้องการอะไร วันนี้อยากทำอะไร มีสิ่งไหนที่สามารถเติมเต็มความต้องการของตัวเองได้บ้าง ให้ช่วงเวลานั้นหันกลับมาโฟกัสตัวเองและใส่ใจตัวเองบ้าง
เราดูแลคนอื่นได้แต่อย่าลืมดูแลตัวเองไปพร้อมๆกัน 🙂
Post Views: 1,153