เวลาเปลี่ยนคนเปลี่ยน

เวลาเปลี่ยนคนเปลี่ยน เมื่อเราไม่อยากให้เวลาผ่านไป

เรื่องAdminAlljitblog

เวลาเปลี่ยนคนเปลี่ยน จริงไหม? 

 

 

เวลา

สารบัญ

คือ มาตรวัดทุกสิ่งทุกอย่างเป็นตัวแปรที่ต่อเนื่อง (Continuous Variable)

 

 เวลา มี 2 ประเภท

1.  เวลาทางกายภาพ (Physical Time) เป็นเวลาในเชิงสมมติใช้หน่วยเป็น ปี เดือน สัปดาห์ วัน ชั่วโมง นาที และวินาที 

2. เวลาทางจิตใจ (Psychological Time) เป็นเวลาตามความรู้สึกตามแต่การรับรู้ของบุคคลแต่ละคนซึ่งจะแตกต่างกันไป เป็นเวลาที่มีความรู้สึกบางอย่างของเราผูกโยงอยู่ด้วย

 

โดยแต่ละคนจะรับรู้และแปลความหมายของเวลาแตกต่างกันออกไปตามความรู้สึกส่วนตัวในขณะนั้น หมายความว่าถึงแม้ระยะเวลาจะผ่านไปเท่ากัน คนหนึ่งอาจรู้สึกว่าเป็นช่วงเวลาที่แสนสั้นทันใจ แต่อีกคนหนึ่งกลับรู้สึกว่ายาวนาน

 

เวลาเปลี่ยน เราเปลี่ยนอะไรบ้าง

1.ร่างกาย-ที่เปลี่ยนแปลงไปตามช่วงวัย เช่น วัยเด็กที่เริ่มวางรากฐานการพัฒนาทางร่างกาย ,วัยรุ่นที่ร่างกายเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงและมีพัฒนาทางเพศ หรือวัยกลางคนที่การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายมีความเสื่อมถอยชัดเจน 

2.จิตใจ- ทัศนคติ ความคิด มุมมองต่อสิ่งต่าง ๆ ในชีวิตเปลี่ยนแปลงไปตามช่วงวัยของการใช้ชีวิต 

 

7 Year Cycles วงจรชีวิต 7 ปี

7 Year Cycles หรือวงจรชีวิต 7 ปี มาจาก รูดอล์ฟ สไตเนอร์ นักปรัชญาชาวออสเตรีย เขาได้เสนอแนวคิดที่ว่าร่างกายและจิตใจของคนเราจะเปลี่ยนไปทุก ๆ 7 ปี ได้อธิบายความเปลี่ยนแปลของคนเราในทุก ๆ 7 ปีไว้ 

 

ช่วงแรกเกิด-7 ขวบ: จากความเป็นหนึ่งเดียวกับแม่สู่ความเป็นอิสระ

ในช่วงปีแรกๆ ของชีวิต โดยเฉพาะแรกเกิดถึงสองขวบ เด็กแทบจะไม่สามารถแยกแยะระหว่างตัวเองกับแม่ได้ แต่เมื่อเด็กเริ่มคลาน แล้วลุกขึ้นเดิน เขาจะสัมผัสได้ถึงอำนาจส่วนบุคคล (Personal Power)

 

และอิสรภาพจากแม่ที่มากขึ้น  แล้วค่อยๆพัฒนาขึ้น เริ่มหย่านม เริ่มมีฟันน้ำนมขึ้น พออายุ 4-5 ขวบ เด็กไปโรงเรียน ซึ่งเป็นช่วงเวลาสำคัญของการแยกจากแม่ และเริ่มเข้าสังคมกับเด็กคนอื่น ๆ

 

ประสบการณ์นี้จะดึงความเป็นตัวตนของเด็กออกมา ได้เริ่มเส้นทางค้นหาว่าเขาเป็นใคร

 

ช่วงวัย 8-14ปี : ต่อสู้และมุ่งมั่นในการใช้ชีวิต

เป็นช่วงเวลาของทดสอบการอยากมีชีวิตอยู่ ความเจ็บป่วยจะเกิดขึ้น เช่น อีสุกอีใส หัด คางทูม ระบบภูมิคุ้มกันจะทำงานเพื่อต่อสู้กับมันเมื่อโรคเหล่านี้หายไปก็จะมีการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนเข้าสู่ช่วงวัยหนุ่มสาว

 

ช่วงวัย 14-21ปี : อารมณ์ร้าย,ฮอร์โมนที่เปลี่ยนไปและเริ่มมีความสนใจทางเพศ

เข้ามัธยม เริ่มโต สภาพเเวดล้อมเปลี่ยนไป 

 

ช่วงวัย 21-28ปี  : ช่วงเวลาแห่งการรับผิดชอบ

เริ่มเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ เปลี่ยนทัศนคติ มีพลังสูง รับผิดชอบต่อสิ่งต่างๆ

 

ช่วงวัย 28-35 ปี : ร่างกายพัฒนาเต็มที่

เมื่ออายุได้ 35 ปี โครงกระดูกก็มีมวลกระดูกและความหนาแน่นมากที่สุด ทุกคนสูญเสียมวลกระดูกประมาณ 1 เปอร์เซ็นต์ต่อปี ร่างกายจะเริ่มถดถอยลงหลังจากอายุ 35 ปี 

 

ช่วงเวลานี้ หลายๆคนมักค้นพบศักยภาพในตัวเองและมีความมุ่งมั่นมากที่สุด ทะเยอทะยานมากที่สุด  Steiner เขายังบอกไว้ด้วยอีกว่าเรามักจะเจออัศวินขี่ม้าขาวในช่วงวัยนี้

 

ช่วงวัย 35-42ปี : วิกฤตและการตั้งคำถาม 

หลายคนจะประสบกับเหตุการณ์ที่อยู่เหนือการควบคุมของเรา และในกระบวนการนี้ เราประสบกับความผิดหวังและความรู้สึกล้มเหลว ความผิดหวังที่พบบ่อยที่สุดคือการหย่าร้าง การล่มสลายของธุรกิจ

 

หรือความขัดแย้งทางการเงิน หรือประสบวิกฤตสุขภาพไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง เกิดคำถามขึ้นกับตัวเอง อะไรคือที่มาของความสุขที่แท้จริงของตัวเองและทั้งหมดนั้นฉันต้องการในชีวิตหรือเปล่า

 

ช่วงวัย70 ปีขึ้น : เป็นช่วงเวลาแห่งการสะท้อนเรื่องราวในอดีตและเตรียมตัวสำหรับการผจญภัยในโลกต่อไป

 

 

Chronophobia (โรคกลัวการพัดผ่านของเวลา)

เป็นภาษากรีก Chrono แปลว่า เวลา  Phobia แปลว่า กลัว  Phronophobia โรคกลัวเวลาหรือการผ่านไปของเวลาที่ผ่านไปอย่างไร้เหตุผล ( ดูเหมือนว่าจะเร็วขึ้นหรือช้าลง)

 

อาการ

  • กลัวอย่างมาก วิตกกังวลและแพนิก
  • รู้สึกว่าความกลัวของเรานั้นไม่สมเหตุสมผลและไม่สามารถจัดการกับมันได้
  • มีปัญหาในการใช้ชีวิตเพราะความกลัว
  • หัวใจเต้นเร็ว เหงื่อออก หายใจลำบาก

 

เหตุการณ์ที่กระตุ้น Chronophobia

  • วันจบการศึกษา
  • วันครบรอบแต่งงาน
  • วันเกิด
  • เหตุการณ์สำคัญ
  • วันหยุด

 

บุคคลที่เสี่ยงต่อภาวะ Chronophobia

ตามรายงานของสถาบันสุขภาพจิตแห่งชาติ (National Institute of Mental Health)ประมาณร้อยละ 12.5 ของผู้ใหญ่ชาวอเมริกัน บางครั้งในชีวิตพวกเขาจะมีอาการกลัวบางอย่าง เนื่องจาก Chronophobia เชื่อมโยงกับเวลา จึงมีเหตุผลว่าจะพบ Chronophobia ใน..

  • ผู้สูงอายุ
  • ผู้ที่เผชิญกับการเจ็บป่วยระยะสุดท้าย ทั้งสองแบบนี้จะกังวลเกี่ยวกับเวลาที่พวกเขาเหลืออยู่
  • ผู้ต้องขัง ในเรือนจำ โรคโครโนโฟเบียบางครั้งเกิดขึ้นเมื่อผู้ต้องขังใคร่ครวญถึงระยะเวลาของการถูกจองจำโดยทั่วไปเรียกว่าโรคประสาทในเรือนจำหรือเป็นโรคประสาท
  • ผู้ประสบภัยธรรมชาติเมื่อเขาอยู่ในความวิตกกังวลเป็นเวลานานโดยไม่รู้เวลา

 

การรักษา

  • แผนการรักษาตามที่จิตเเพทย์แนะนำ จิตบำบัดหรือจ่ายยา
  • การรักษาเสริม เช่น ฝึกสมาธิและการหายใจ โยคะ หรือ แอโรบิค

 

ทำไมมนุษย์ถึงกลัวการเปลี่ยนแปลง จากหนังสือ ทำไมมนุษย์จึงกลัวการเปลี่ยนแปลง กล่าวไว้ว่า 

1. ความเคยชินหรือคุ้นเคย 

2. ขาดความเชื่อมั่นในความสามารถของตัวเอง

3. ความกลัวที่จะต้องทำงานหนักขึ้น 

4. ความวิตกกังวลถึงอนาคตมากเกินไป 

 

จัดการกับความกลัวการเปลี่ยนแปลง 

1. ดูแลและปรับทัคนคติต่อการเปลี่ยนแปลง 

ดูแลและเข้าใจไว้ตั้งแต่เนิ่น ๆ ว่าความเปลี่ยนแปลงนั้นคือเรื่องที่เกิดขึ้นเสมอ ตลอดเวลา

 

2. ระบายความรู้สึกของตัวสเองออกมา 

Jennifer Weaver – Breitenbecher นักจิตวิทยาคลินิกใน Rhode Island กล่าวว่า ความรู้สึกและการแสดงอารมณ์ เป็นส่วนสำคัญของการรักษา “นี่ไม่ใช่เวลามาพยายามเข้มแข็ง ปล่อยให้ตัวเองเสียใจ โกรธ ไม่พอใจ แล้วจัดการกับสิ่งที่เกิดขึ้น”

 

3. ปล่อยทิ้งความพยายามในการควบคุมลง 

ไม่มีอะไรที่ได้ดั่งใจเราไปหมดทุกเรื่อง เพราะฉะนั้นอย่าคิดจะควบคุมอะไรไม่ให้เปลี่ยนไป

 

4. ขอความช่วยเหลือจากคนรอบข้างบ้างก็ได้ 

5. อยู่กับปัจจุบัน

6. มองไปที่อนาคต มากว่าสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปแล้ว

7.เข้ารับการบำบัดจากผู้เชี่ยวชาญ 

 

 

สำหรับคนที่อยากจะเปลี่ยนแปลงตัวเองไปในทางที่ดีขึ้น แต่วันนี้ยังรู้สึกว่าทำไม่ได้ซักที่ มีกฎของการเปลี่ยนแปลง 3 ข้อมาฝาก จากหนังสือ แต่คุณที่กลัวการเปลี่ยนแปลงตลอดชีวิต

 1.ไม่ต้องใช้สมอง 

เรามักตั้งคำถาม คิดวนไปมาว่าจะทำอย่างไรให้ชีวิตดีขึ้น แต่จริง ๆ แล้ว เราสามารถลงมือทำได้เลย 

 

2. ไม่ต้องหาข้ออ้าง 

ความเปลี่ยนแปลงทำให้เรารู้สึกกลัวและกังวล และมีความรู้สึกอยากหนีสิ่งนั้นไป เราจึงหาข้ออ้าเพื่อยังไม่เปลี่ยนตัวเอง 

 

3. ไม่ต้องมีความหวัง

บางคนคิดจะเปลี่ยนแปลงตัวเอง แต่ก็ดูไม่มีความหวังเลย หากแต่การได้ลงมือทำก็ทำให้ความหวังเกิดขึ้นแล้ว

 

อ้างอิง :

 

The 7-Year Cycles of Life

Chronophobia

10 Ways to Help You Get Through Tough Times

เวลา..