เมื่อเราเกิดความรู้สึก เหนื่อยกับชีวิตคู่ แต่ก็ไม่ได้อยากเลิก ดูเป็นความรู้สึกที่สับสนและหาทางออกไม่ได้เลย
บทความนี้ Alljit ร่วมกับคุณวันเฉลิม คงคาหลวง (นักจิตวิทยาการปรึกษา) เจ้าของแฟนเพจ Trust.นักจิตวิทยาการปรึกษา ที่จะมาพูดคุยและแนะนำวิธีการแก้ไขปัญหาเมื่อเราเกิดสภาวะเหนื่อยกับชีวิตคู่
ชีวิตคู่มักพบเจอเวลาที่ยากลำบากอยู่เสมอ จะมากหรือจะน้อยนั้นก็ขึ้นอยู่กับปัญหา ในบางครั้งเราอาจจะเหนื่อย แต่อยากจะทำให้ชีวิตคู่นั้นกลับมาเหมือนพึ่งคบกับแฟนใหม่ ๆ อีกครั้ง
สิ่งแรกต้องตัดคำว่ากลับมาเหมือนคบกับแฟนใหม่ ๆ ออกไปก่อน เพราะเราไม่สามารถย้อนสิ่งที่เดินมาจนถึงวันนี้ไปเหมือนเดิมได้อดีตคือสิ่งที่ผ่านไปแล้ว และอดีตไม่มีทางเป็นเป้าหมายของอนาคตได้
เมื่อเรารู้สึก เหนื่อยกับชีวิตคู่ เบื่อแต่ไม่ได้อยากเลิกทำยังไงดี ?
นักจิตวิทยาอธิบายว่าจะมี 2 ส่วนในคำถามนี้ คือ “ส่วนที่สร้างความเหนื่อย”
และ “ส่วนที่ทำให้เราไม่อยากเลิก” สองส่วนนี้อาจจะผสมกลมเกลียวกันอยู่ แต่เราสามารถแยก และสำรวจปัญหาได้ โดยแยกออกเป็น 2 ประเด็น
“ เหนื่อยกับชีวิตคู่ ”
ค่อย ๆ พาตัวเองเดินทางย้อนกลับไปในวันที่ความสัมพันธ์เริ่มต้น มีเหตุการณ์ใดบ้างที่ทำให้เกิดคำถาม แล้วคุณรู้สึกอย่างไร อะไรคือเหตุผล
พอคุณค้นพบผ่านตัวเอง แล้วจะพบเหตุผลที่แท้จริงของการเบื่อ ความรักเป็นสิ่งที่ไปเรื่อย ๆ เหมือน “การวิ่งมาราธอน”
ทุกคนล้วนเปลี่ยนแปลงและเติบโตอยู่เสมอ ในวันหนึ่งความรักที่มันรู้สึกที่ชุ่มฉ่ำอาจจะไม่ใช่เพราะเราหรือว่าคนรักหรอก แต่อาจเป็นเพราะช่วงวัยที่มีความเป็นเด็กอยู่ในนั้น
เหมือนเราทั้งคู่จูงมือกันไปเสพความสนุกในสวนสนุก แต่เมื่อโตขึ้นความรับผิดชอบมากขึ้น คุณอยากอยู่ในจุดที่การใช้ชีวิตอีกรูปแบบหนึ่ง แต่คุณไม่ได้มีความสุขกับชีวิตที่ไปเดินข้างหน้าเท่านั้นเอง
“ใจคุณยังอยู่กับเขาไหม ? ”
ถ้าใจไม่อยู่กับเขาแล้ว จะทำให้ความรู้สึกเบื่อหนักแน่นมากขึ้น แต่ถ้าใจคุณยังอยู่กับเขา เสียงของเหตุผลที่ยังไม่อยากเลิกก็จะชัดเจนขึ้นเช่นกัน
แต่คำว่าใจยังอยู่ไหม ไม่ได้หมายความว่า คุณยังรักเขาอยู่ไหมเท่านั้น แต่หมายถึง ทัศนคติของเราทั้งคู่ตรงกันไหม,ไลฟ์สไตล์ยังเข้ากันได้ไหม ฯลฯ
ฉะนั้น “ใจยังอยู่กับเขาอยู่ไหม” มันใช้เเค่ความรักไม่ได้ บางคนเลิกกันแต่ใจยังอยู่ก็มีจุดเริ่มต้นความรัก มาจากความเสน่หา ความชอบ ความหลงใหลซึ่งกันและกัน
แต่การดำรงอยู่ของความรัก ไม่ได้ประกอบแค่สิ่งเหล่านี้เท่านั้น
ความรักที่ดีคือ “ความรักที่มีวุฒิภาวะ”
ในมุมมองของนักจิตวิทยา ความรักที่ดีคือความรักที่มีวุฒิภาวะ ความรักที่เปี่ยมไปด้วยความสนุก ครื้นเครง ความเฮฮา หรือว่าความเอาแต่ใจ และการตามใจกันเป็นความรักแบบเด็ก ๆ
ซึ่งความรักแบบนี้เปรียบเสมือนการดูดอกไม้ไฟ แต่ไม่มีใครมีความสุขกับการยืนดูดอกไม้ไฟใน 365 วันตลอด 24 ชั่วโมง แต่ก็ต้องมีบ้างนาน ๆ ที
ฉะนั้นการ มีความรักวุฒิภาวะคือ คุณโตเป็นผู้ใหญ่มากขึ้น แล้วเรียนรู้ที่จะมีความสุขกับความรักในวันที่ตัวตนคุณเป็นผู้ใหญ่ และอีกฝ่ายหนึ่งเป็นผู้ใหญ่
ซึ่งนักจิตวิทยาขอเสริมในทัศนคติส่วนตัวว่า “บางครั้งความรักของคุณไม่มีปัญหาหรอก แต่ลืมว่าตัวเองเป็นผู้ใหญ่ และลืมเรียนรู้การมีความสุขในแบบผู้ใหญ่”
Post Views: 11,950