โรควิตกกังวล (Anxiety Disorder) อีกครั้งและมาลงลึกถึงรายละเอียดอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็น 3 ระดับของความวิตกกังวล กลุ่มโรคในร่มเดียวกัน
ไปจนถึงกลไกการเกิดภาวะวิตกกังวล แล้วมาหาคำตอบไปพร้อม ๆ กันว่า โรควิตกกังวล โฟเบีย และแพนิคเหมือนหรือแตกต่างกันยังไง
Anxiety Disorder “เป็นภาวะที่ประชาชนมักเข้าใจผิดกันบ่อย คิดว่าผู้ป่วยแกล้งทำ หรือคิดว่าเกิดมาจากตัวเอง
ไม่ได้เจ็บป่วย จึงไม่ไปพบแพทย์ หรือจิตแพทย์ เพื่อรักษาแก้ไขที่ต้นเหตุ ซึ่งโรคนี้มียารักษา และต้องใช้วิธีบำบัดร่วม เพื่อปรับความคิดและพฤติกรรม ”
ซึ่งจากหนังสือจิตเวชศาสตร์รามาธิบดี ได้อธิบายว่า Anxiety เกิดเมื่อมีความเครียดเข้ามากระทบจิตใจของเรา นั่นหมายความว่า Anxiety ก็พัฒนาต่อมาจากความเครียดนั่นเอง
ลักษะของ Anxiety Disorder
ทางใจ : สับสน เครียด กังวล วิตก ตื่นเต้น ไม่มีความสุข
ทางกาย : มือสั่น ตัวสั่น ปัสสาวะบ่อย ปั่นป่วนในท้อง แน่นหน้าอก ลุกลี้ลุกลน
ความวิตกเป็นอาการที่เกิดได้กับคนปกติก็จริง แต่จะถือว่าผิดปกติหรือเป็นโรคเมื่อเกิด 4 ข้อนี้
1. ความวิตกที่เกิดขึ้นมากเกินกว่าจะอธิบายด้วยความเครียดที่มากระตุ้น (รู้สึกมากกว่าสถานการณ์ที่เกิด)
2. ความวิตกกังวลที่เกิดมีอาการรุนแรงมาก
(ไม่ได้แน่นหน้าอกธรรมดา แต่แน่นจนหายใจลำบาก หรือ รู้สึกว่านั่งเฉย ๆ ไม่ได้ ต้องวิ่ง ต้อนหนีเดี๋ยวนั้น)
3. อาการยังคงอยู่แม้สิ่งเร้าจะไปแล้ว
4. อาการที่เกิดขึ้นรบกวนกิจวัตรประจำวันและหน้าที่การงาน
ระดับความ วิตกกังวล
1. ระดับต่ำ Mild Anxiety
ระดับนี้พบได้ทั่วไป เช่น การตึงเครียดจากการดำรงชีวิตประจำวัน เป็นระดับที่ทำให้บุคคลเกิดความตื่นตัว กระตือรือร้นที่จะเอาชนะปัญหา มีการรับรู้ที่ว่องไว ความจำดี สมาธิดี
อารมณ์และการกระทำไม่เปลี่ยนจากปกติมากนัก รวมถึงอาจมีการเปลี่ยนแปลงทางสรีระเนื่องจากระบบประสาทอัตโนมัติถูกกระตุ้น เช่น หัวใจเต้นเร็วขึ้น ม่านตาขยาย ฝ่ามือมีเหงื่อออก
การเคลื่อนไหวเร็วขึ้น บุคคลที่มีความวิตกกังวลระดับต่ำนี้ยังสามารถควบคุมตนเองได้ โดยอาจต้องการความช่วยเหลือบ้าง เช่น ต้องการ รเรียนรู้ลดลง อาจมีอาการทางสรีระ
เช่น หายใจเข้าออกแรง รู้สึกปั่นป่วนในกระเพาะอาหาร ปวดศีรษะ บุคคลที่มีความวิตกกังวลระดับปานกลางนี้ยังสามารถแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับตนเองได้
2. ระดับรุนแรง Severe Anxiety
ระดับนี้มีผลทำให้ประสาทสัมผัสและการรับรู้แคบลง ทำให้หมกมุ่นในรายละเอียดมากจนเกินไป ไม่สามารถจับสาระสำคัญของเรื่องใดได้ ความสามารถในการแก้ไขปัญหาลดลงและทำงานได้ไม่เต็มสมรรถภาพ
เกิดความสับสน มีพฤติกรรมที่แสดงออกเพื่อปกป้องตนเองมากขึ้น และมักเป็นพฤติกรรมซ้ำ ๆ ที่สังเกตเห็นได้ เช่น กระวนกระวาย หงุดหงิด โมโหง่าย เรียกร้องเกินกว่าเหตุ ต่อต้าน ตื่นกลัว
ตัวสั่น เกร็ง ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดศีรษะ ท้องเดิน หรือท้องผูก นอนไม่หลับ บุคคลที่มีความวิตกกังวลระดับรุนแรงนี้ต้องการความช่วยเหลือจากผู้อื่น
3. ระดับรุนแรงมาก Panic Level Anxiety
ระดับนี้มีผลทำให้บุคคลเกิดความกลัวอย่างรุนแรงมาก หรือเป็นความกลัวสุดขีด ทำให้บุคคลขาดการควบคุมตนเอง และแสดงออกถึงพฤติกรรมที่ไม่มีในสภาวะปกติ เช่น กรีดร้อง
วิ่งหนีไปอย่างไรจุดหมาย หรือตกตะลึงแน่นิ่งหมดสติทันทีทันใด บุคคลที่มีความวิตกกังวลระดับรุนแรงมากนี้ จะสูญเสียความเป็นตัวของตัวเองและไม่สามารถทำภารกิจเหมือนปกติได้
โรคกลัวต่าง ๆ เชื่อมโยงกับภาวะวิตกกังวล
1. Separation Anxiety Disorder : เป็นโรคที่มีความวิตกกังวลในเรื่องการแยกจาก (กลัวการแยกจาก)
2. Selective Mutism : เงียบใบ้ พูดไม่ได้แบบเฉพาะเจาะจงสถานการณ์
3. Specific Phobia: กลัวมากกว่าปกติในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง แบบเจาะจง
4. Social Anxiety Disorder (Social Phobia) : กลัวสถานการณ์ที่คนจ้องมองมาที่ตนเอง
5. Panic Disorder: อาการวิตกทั้งกายและใจแบบไม่มีสิ่งกระตุ้น แล้วก็กลัวว่าจะเป็นอีก
6. Agoraphobia : กลัวว่าสิ่งไม่ดีจะเกิดขึ้น และกลัวว่าจะหนีไม่ทัน
7. Generalized Anxiety Disorder : กลัวมากในเรื่องต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน
กลไกการเกิด ภาวะวิตกกังวล
ความวิตกกังวล ไม่ว่าจะด้วยสาเหตุอะไรก็ตาม จะมีกลไก ขั้นตอนการเกิดในลักษณะที่เหมือน ๆ กัน ซึ่ง Peplau 1989 แบ่งไว้ตามนี้
ขั้นที่ 1. คนเรามีความคาดหวัง และต้องการ
ขั้นที่ 2. เกิดอุปสรรค หรือภาวะคุกคามใดใด
ขั้นที่ 3. มีความรู้สึกหวั่นไหว สับสน คับข้องใจ คุณค่าในตัวเองลดลง
ขั้นที่ 4. มีการเปลี่ยนแปลงทั่วไป
4.1 ด้านจิตใจ อารมณ์ – เครียด กระวนกระวายใจ หงุดงิด โมโห
4.2 ด้านชีวเคมี – ท้องผูก นอนไม่หลับ ปั่นป่วนในกระเพราะ
4.3 ด้านร่างกาย – เกร็งกล้ามเนื้อ เหงื้อแตก กรีดร้อง
ขั้นที่ 5. แบ่งได้เป็น 2 รูปแบบ
5.1 คลี่คลายปัญหาได้ ค่อย ๆ ดีขึ้น
5.2 หลีกเลี่ยงปัญหา ความวิตกกังวลก็ยังคงอยู่
Post Views: 23