บางครั้งเราก็ไม่สามารถหลีกเลี่ยงการทำงานร่วมกับคนที่เรา “เกลียด” ได้ ถึงเราจะ ไม่ชอบเพื่อนร่วมงาน มากขนาดไหน แต่เราก็ต้องทำงานร่วมกับเขาอยู่ดี
แต่ความรู้สึกไม่ชอบทำให้เราอึดอัดใจ เหมือนประโยคที่บอกว่า “คับที่อยู่ได้ คับใจอยู่ยาก”
ความรู้สึก ไม่ชอบเพื่อนร่วมงาน หรือ หัวหน้างาน เป็นเรื่อง “สำคัญ”
เพราะการที่เราจะต้องร่วมงานหรือร่วมทีมกับใคร ความสบายใจในการทำงานร่วมกันเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะเราต้องเจอเพื่อนร่วมงานหรือหัวหน้างานในทุก ๆ วัน
ถ้าเรากับเพื่อนร่วมงานหรือหัวหน้างานมีความอึดอัดใจต่อกัน ก็จะส่งผลให้ทำงานร่วมกันได้ค่อนข้างยาก ทำให้เราไม่มีความสุขในการทำงาน เครียด กดดัน งานที่ทำออกมาก็อาจจะไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร
ถ้าสะสมการไม่มีความสุขแบบนี้ไปนาน ๆ ก็อาจจะทำให้อยากลาออกจากองค์กรนั้นก็ได้ แต่ถ้าเรามีความสุขกับเพื่อนร่วมงานกับหัวหน้างาน สามารถเข้ากันได้ดี ก็จะทำให้การทำงานราบรื่นไม่มีปัญหาอะไร
มีความสุขกับทีมมีความสุขกับงาน เราก็อยากที่จะไปทำงาน งานที่ออกมาก็จะมีประสิทธิภาพที่ดีตามไปด้วย
ความรู้สึก ไม่ชอบเพื่อนร่วมงาน ส่งผลกระทบต่อการทำงาน?
ถ้าเรารู้สึกไม่ดีไม่โอเคกับเพื่อนร่วมงานหรือหัวหน้างานแล้ว เราก็มีความรู้สึกที่ไม่อยากจะร่วมงานด้วย อึดใจที่จะต้องทำงานร่วมกัน
บางทีงานติดขัดบางอย่างแต่เราก็ไม่อยากที่จะไปขอคำปรึกษาเพื่อนร่วมงานหรือหัวหน้างานคนนั้น ส่งผลให้งานมีปัญหาหรือประสิทธิภาพของงานลดลงตามมา
Hr มีบทบาทอย่างไรกับความรู้สึก ไม่ชอบเพื่อนร่วมงาน ของพนักงาน
1. พิจารณาสถานการณ์
Hr หลาย ๆ ท่านน่าจะเคยเจอปัญหาเคสนี้มาบ้าง เพราะพนักงานแต่ละท่านก็มีนิสัยใจคอที่แตกต่างกัน อาจจะมีที่เข้ากันได้บ้างและที่เข้ากันไม่ได้บ้าง
HR ต้องมีการพิจารณาว่าจำเป็นต้องมีการพูดคุยกันทั้งสองฝ่าย เพื่อให้การทำงานนั้นมีประสิทธิภาพและสำเร็จลุล่วงไป
2. คุยกับพนักงานแยกทีละคน
Hr ต้องพูดคุยกับพนักงานแยกทีละคนก่อนเพื่อประเมินสถานการณ์และรับทราบถึงมุมมองของทั้งสองฝ่าย เมื่อประเมินแล้ว พิจารณาว่าการให้ทั้งสองฝ่ายเผชิญหน้ากันและพูดคุยกัน
จะสร้างแนวทางออกที่เป็นบวก จึงจะจัดให้มีการพูดคุยกันโดยตรงอีกที
3. ควบคุมกระบวนการคุย
HR ต้องเป็นผู้ควบคุมกระบวนการพูดคุย ทำให้ทั้งสองฝ่ายเข้าใจในมุมมองของแต่ละคน
4. จัดกิจกรรมให้ทำร่วมกัน
อีกวิธีคือการจัดกิจกรรมให้ได้ทำร่วมกัน เป็นกิจกรรมที่ต้องเน้นช่วยกันเป็นทีมและมีรางวัลไว้กระตุ้นแรงจูงใจ เพราะการได้ทำกิจกรรมร่วมกันอาจจะช่วยให้พนักงานได้เห็นมุมมองกันและกันมากขึ้น
ถ้า ไม่ชอบเพื่อนร่วมงาน เพราะปัญหาส่วนตัว
1. โฟกัสที่งานอย่างเดียว
2. อย่าพยายามเอาเรื่องส่วนตัวหรือความรู้สึกส่วนตัวมาปน
3. ให้เราคิดว่าเรามาเพื่อทำงานให้เสร็จในส่วนของเรา
4. พยายามอย่าใช้อารมณ์โต้ตอบ
5. ถ้าไม่ไหวจริง ๆ เราต้องขอคำปรึกษาจากหัวหน้างานหรือคนที่มีอำนาจในการใช้คำพูดเพื่อตักเตือนได้
Generation gab ช่องว่างระหว่างวัย
Generation gab ก็มีส่วนทำให้เกิดปัญหาในการทำงานได้ แต่ไม่ใช่ทั้งหมด เพราะบางองค์กรก็เป็นองค์กรgenใหม่ ๆ อายุพนักงานไล่เรี่ยกัน
ส่วนมากปัญหา geration gab จะเกิดในองค์กรที่มีความต่างทางอายุมาก เพื่อนร่วมงานที่ต่างรุ่นก็อาจจะเกิดความเห็นที่แตกต่างกันได้ เป็นสาเหตุสำคัญของความตึงเครียดในที่ทำงาน
อาจทำให้ไม่สามารถร่วมงานกันได้ และเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ที่ทำงานเสียพนักงานรุ่นใหม่อยู่เสมอ เพราะแต่ละ gen ก็จะมีวิธีการคิด พฤติกรรม ไลฟ์สไตล์ที่ต่างกันออกไป
วิธี Manage ปัญหา Generation gab
จากบทความของเว็บไซต์ creativetalklive
Generation Gap ในองค์กรลดได้ด้วย Empathy, Growth Mindset, Design Thinking ในแง่ของสังคมการทำงาน ซึ่งต้องมาจากทั้งสองฝั่ง
Gen ใหม่
ฝั่ง gen ใหม่ ต้องมองความแตกต่างด้านความคิดเห็นเป็นเรื่องท้าทายในการสื่อสาร หาจุดร่วมในการแก้ปัญหา (Growth Mindset) พยายามเข้าใจว่าฝั่งgen เก่าติดเรื่องอะไร
มีเงื่อนไขอะไรที่เราไม่รู้หรือเปล่า (Empathy) จากนั้นปรับมุมมองทางความคิดในการนำเสนอด้วยรูปแบบใหม่ ๆ (Design Thinking)
Gen เก่า
ในขณะเดียวกันฝั่ง gen เก่าก็ต้องยอมรับความแตกต่างทางความคิด ให้ความเคารพคนรุ่นใหม่ รับฟังการแก้ปัญหา สร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ทำให้ทั้งสองฝ่ายกล้าถกประเด็นต่าง ๆ อย่างตรงไปตรงมา
เกิดการยอมรับซึ่งกันและกัน มองหาจุดแข็งของแต่ละฝ่ายในการทำงาน และนำมาปรับใช้เพื่อสร้างความสำเร็จร่วมกันในที่สุด Hr ก็ต้องมีความ creative ในการที่จะต้องหากิจกรรมที่สามารถทำร่วมกันได้
เพื่อสร้างความ engagement ในการทำงานร่วมกันของแต่ละ gen
ประโยชน์จากช่องว่างระหว่างวัย
เราต้องมองหาจุดดีของมุมมองในแต่ละ gen เช่น gen เก่า เค้าก็อาจจะมีประสบการณ์บางอย่างผ่านมาก่อน gen ใหม่ก็สามารถเอาประสบการณ์ที่ทาง gen เก่าเจอมาตรงจุดนี้มาปรับใช้บางส่วน
แต่เพิ่มเติมแนวทางใหม่ ๆ ที่เป็นปัจจุบันเข้าไปได้ หรือบางที่ gen เก่าทำงานมานานเค้าอาจจะมีความเก๋าเกมส์มากกว่า gen ใหม่ ซึ่งตรงนี้ก็ถือว่าเป็นการเรียนรู้ เป็นตัวอย่างของ gen ใหม่ได้
หรือ gen ใหม่มีการนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้ในการทำงานให้ง่ายขึ้นก็สามารถแนะนำ gen เก่าให้ลองหัดใช้ได้ เป็นการช่วยเทรนนิ่งความรู้ใหม่ไปในตัวแบบนี้ก็ได้
ไม่ว่าเราจะไม่ชอบเขามากแค่ไหน เราก็ต้องหาวิธีที่จะอยู่ร่วมกันกับเขาให้ได้ เพื่อการทำงานของเราเองด้วย การทำงานร่วมกันก็ต้องมีปัญหาเกิดขึ้นเป็นเรื่องปกติ
“ใส่ใจความรู้สึกตัวเอง อย่าปล่อยให้ตัวเองรู้สึกแย่นานเกินไป”
Post Views: 4,888